การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย หมาวิทยาลัยศิลปากร
ปีการศึกษา 2556
ผู้วิจัยนางสาวกนกวรรณ พิทยะภัทร์
1. เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยอนุบาลชั้นปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
2. เพื่อนศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E
สมมติฐานของการวิจัย
1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลชั้นปีที่2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ 5E สูงกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หรือไม่
2. เด็กปฐมวัยมีจิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E อยู่ในระดับดี
ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่ จํานวน 10โรงเรียน สํานักงานเขตพื่นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จํานวน 200 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่สามัคคี ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Ramdom Sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียนได้ห้องอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 23 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
ตัวแปรตาม ได้แก่
· ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
· จิตวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้
- ความสนใจใฝ่รู้
- ความรับผิดชอบ
- ความซื่อสัตย์
ขอบเขตเนื้อหา
หัวข้อเรื่องที่นาสร้างแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรเรียนรู้ด้านเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ได้แก่ หน่วยการจัดประสบการณ์ความรู้ ชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 8 หน่วย คือ
หน่วย ดอกไม้ในอุทยานรัชกาลที่ 2 หน่วยแม่น้ำ – แม่กลอง หน่วยนาเกลือ หน่วยปลาทูแม่กลอง หน่วยป่าชายเลน หน่วยมะพร้าว และหน่วยน้ำตาลมะพร้าว
ระยะเวลาในการดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการดำเนินการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 45 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2556
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
4.1 แผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในการนี้ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มากําหนดเป็นหน่วยการจัดประสบการณ์โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวและของดีประจําจังหวัดสมุทรสงครามกำหนดเป็นเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของหน่วยการจัดประสบการณ์ จำนวน 8 หน่วย คือ 1) หน่วยดอนหอยหลอด 2) หน่วยดอกไม้ในอุทยานรัชกาลที่ 2 3) หน่วยแม่น้ำแม่กลอง 4) หน่วยนาเกลือ 5) หน่วยปลาทูแม่กลอง 6) หน่วยป่าชายเลน 7) หน่วยมะพร้าว และ 8)หน่วยน้ำตาลมะพร้าว จัดกิจกรรมในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
4.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยทดสอบ
การคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น จำนวน 4 สถานการณ์ คือ(1) ถ้าหนูรับประทานปลาทูแล้วก้างติดคอ หนูจะทำอย่างไร (2) ถ้าหนูไปปลูกป่าชายเลนแล้วโดนโคลนดูดขา หนูจะทำอย่างไร (3) ถ้าหนูอยากใช้แว่นขยาย แต่เพื่อนกำลังใช้อยู่ หนูจะทำอย่างไร (4) ในขณะที่หนูยืนเข้าแถว หนูรู้สึกปวดปัสสาวะ หนุจะทำอย่างไร
ปัญหาของผู้อื่น คือ การกระทำของผู้อื่นแต่มีผลกระทบกับตนเอง ได้แก่ (1) ถ้าหนูเห็นเพื่อนไม่กล้าเดินเข้าไปในนาเกลือ หนูทำอย่างไร (2) ถ้าหนูพบกระเป๋าสตางค์ของคนอื่นหล่นที่พื้น หนูจะทำอย่างไร (3) ถ้ามีนักท่อเที่ยวมาถามทางไปสุข หนูจะทำอย่างไร (4) ถ้าเพื่อนทำรองเท้านักเรียนหาย หนูจะทำอย่างไร
4.3 แบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์ ในการนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์ที่ต้องการในการประเมินเด็กทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
4.3.1 ความสนใจใฝ่ รู้ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีความพยายามสืบเสาะหาความรู้ใหม่ ๆ มีการสังเกต มีความสนใจในการสำรวจและแสวงหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจโดยการใช้ประสารทสัมผัสและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งมีพฤติกรรมดังนี้ มีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมและเรืองราวต่าง ๆ
ชอบทดลองค้นคว้า ชอบสนทนา ซักถาม ฟัง อ่าน เพื่อให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
4.3.2 ความรับผิดชอบ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่สามารถทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จด้วยความเพียรพยายามของตนเองโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และยอมรับการกระทำของตนเองที่เกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะพฤติกรรมดังนี้ ทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์ตามกำหนดและตรงต่อเวลา ดําเนินการแก้ปัญหาจนกว่าจะได้คําตอบ
4.3.3 ความซื่อสัตย์ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่แสดงข้อมูลด้วยความถูกต้องบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง เห็นคุณค่าของการนําเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง นําเสนอข้อมูลที่เป็นจริงของตนเองแม้เป็นผลที่แตกต่างจากคนอื่นก็ตาม ซึ่งมีลักษณะพฤติกรรมดังนี้ บันทึกผลหรือข้อมูลตามความเป็นจริง
สรุปผลการวิจัย
1.ความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่าสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้อื่นสูงกว่าปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
2.จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ได้แก่ ด้านความสนใจใฝ่รู้ ด้านความรับผิดชอบและด้านความชื่อสัตย์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบและด้านความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น