บันทึกอนุทินครั้งที่1

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

 

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์




                 กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง 
                  ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัย
สามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้


1. ทักษะการสังเกต (Observing) 
2. ทักษะการวัด (Measuring)
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
4. ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
5. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
6. ทักษะการสื่อสาร (Communicating)

การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น

การเรียนรู้ หน่วยน้ำ 
           ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ

การเรียนรู้ หน่วยผลไม้ 
          ครูอาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

ขั้นที่ พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจของลูก ว่าลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่ 

ขั้นที่ สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ 

ขั้นที่ พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอด หลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้นข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการดูแลที่แตกต่างกัน 

ประโยชน์ของการทดลอง
  • ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด 
  • ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ 
  • ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา 
  • ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
  • ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน
  • ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น